เลือกแฟรนไชส์อย่างมี 'กึ๋น'


กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : คำกล่าวที่ว่าในโลกธุรกิจต้องกำจัดจุดอ่อน "ความเสี่ยง" ให้มากที่สุด
การมองหาโอกาสธุรกิจใหม่ๆ ด้วยการเปิดธุรกิจ "แฟรนไชส์" จะเป็นเกราะป้องกันความเสี่ยงต่อการปิดตัวของธุรกิจได้สูงถึง 80% ถ้าเปรียบเทียบกับการเปิดธุรกิจใหม่ด้วยตัวเอง
แฟรนไชส์จึงเป็นทางเลือกอันดับต้นๆ ของคนที่ไม่ต้องการเผชิญความเสี่ยงสูง และเป็น One Stop Shopping ไอเดียที่พอจะการันตีได้ถึงความสำเร็จได้
ยิ่งในยุคเศรษฐกิจชะลอตัว ตลาดกลางซื้อขายธุรกิจแฟรนไชส์น่าจะเป็นคำตอบเดียวของการเปิดธุรกิจใหม่ ซึ่ง "งานโอกาสธุรกิจ&แฟรนไชส์ครั้งที่ 11" โดยมีกรุงเทพธุรกิจ BizWeek เป็นหนึ่งในผู้สนับสนุน ที่กำลังจะจัดขึ้นในวันที่ 23-26 ส.ค. 50 ณ ห้องแพลนนารีฮอลล์ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ จะเป็นเวทีกลางในการเจรจาธุรกิจซื้อขายแฟรนไชส์ที่ใหญ่ที่สุดในรอบปี

"คนมักจะชอบถามว่าเศรษฐกิจแบบนี้คนจะกล้าลงทุนมั้ย การลงทุนจะมีอยู่ 2-3 พวก กลุ่มหนึ่งอาจจะมองว่าเศรษฐกิจแบบนี้ยังไม่ควรลงทุน ในขณะที่บางคนคิดว่าธุรกิจมีความเสี่ยงก็ต้องมองหาธุรกิจอื่นๆ เพื่อประกันความเสี่ยง อันนี้อยู่ไม่ได้ อันนั้นก็ยังได้ นี่เป็นวิธีที่นักธุรกิจหลายๆ คนก็ทำอยู่" สมจิตร ลิขิตสถาพร บรรณาธิการบริหารนิตยสารโอกาสธุรกิจ&แฟรนไชส์ กล่าว
ทุกปีมีอัตราการเติบโตของแฟรนไชส์เพิ่มขึ้น แม้ว่าจำนวนคนที่อยู่รอดเป็นความสามารถเฉพาะตัว
"คนที่ประกันความเสี่ยงด้วยการมีธุรกิจมากกว่า 1 อย่างมักจะปลอดภัยต่อการปิดกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ในเมื่อมีโรงงานอุตสาหกรรม ก็อาจจะมีโรงเรียน มีร้านอาหาร ก็ยังมีสิ่งที่ประกันความเสี่ยงกับเค้าได้" สมจิตร กล่าว
งานโอกาสธุรกิจ&แฟรนไชส์ ครั้งที่ 11 เป็นการวมตัวของธุรกิจแฟรนไชส์ และช่องทางการทำธุรกิจใหม่ๆ มากที่สุด ผู้ที่เข้าชมจะได้รับข้อมูล พบปะธุรกิจที่สนใจและฟังสัมมนาครั้งใหญ่ฟรี
สำหรับผู้ที่ลงทะเบียนผ่าบเวบ www.franchisefocus.co.th จะได้รับซีดีที่รวบรวมข้อมูลรายชื่อของธุรกิจแฟรนไชส์และช่องทางการทำธุรกิจ ต่างๆ 600 รายชื่อพร้อมที่อยู่ติดต่อ เนื้อหาในซีดีประกอบด้วย การตลาดเพื่อขายแฟรนไชส์ การสร้างระบบแฟรนไชส์ การซื้อแฟรนไชส์ไม่ให้ผิดหวัง กับดักเถ้าแก่มือใหม่ และที่สำคัญ รายชื่อธุรกิจต่างๆ ได้แยกหมวดหมู่ตามลำดับ
กิจกรรมในครั้งนี้จะเป็นการรวมตัวธุรกิจต่างๆ อันได้แก่ มีธุรกิจความงาม คริสตีร์ ฟร็อง, ธุรกิจอาหาร ร้านแซนด์วิช ซับเวย์ พิซซ่า ทูเดย์ กาแฟบ้านใร่กาแฟ กาแฟสด คอฟแมน เดอะวาสเฟิล ไอศกรีมเนสเล่ และอื่นๆ
วิธีการเลือกแฟรนไชส์ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ปัญหาคือ นิสัยคนไทยไม่ทำการบ้าน
"ถ้าเราจะทำธุรกิจอะไรสักอย่างต้องไม่ฟังตามคนพูด สิ่งที่เราจะทำเราต้องสำรวจตลาดด้วยตนเอง ไปดูร้านแฟรนไชซีที่เราจะทำ ขั้นแรกเราต้องรู้ก่อนว่าบริษัทนี้ร้านเปิดทั้งหมดกี่แห่ง ร้านที่เป็นของบริษัทเองกี่แห่งและแฟรนไชซีกี่แห่ง" สมจิตร กล่าว
สมจิตรเล่าว่า เราต้องโฟกัสไปที่ร้านของแฟรนไชซี ควรหาข้อมูลของร้านแฟรนไชซี เปิดแล้วเป็นยังไงบ้าง พอใจหรือไม่ รายได้เป็นอย่างไร เพียงพอกับค่าใช้จ่ายมั้ย เรื่องแบบนี้ต้องตอบเราได้ แค่นี้ก็รู้แล้วว่ามีเปอร์เซ็นต์อยู่รอดมากหรือน้อย
เพราะถึงแม้จะเป็นธุรกิจ "กึ่งสำเร็จรูป" แต่โอกาสพลาดท่ามีไม่น้อยกว่าความสำเร็จเช่นกัน

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น