สร้างธุรกิจแฟรนไชส์ต้องรู้อะไรบ้าง

สร้างธุรกิจแฟรนไชส์ต้องรู้อะไรบ้าง

การสร้างธุรกิจให้กลายเป็นแฟรนไชส์นั้น ดูเหมือนจะต้องผ่านวิธีการที่เสมือนหนึ่งตัวดักแด้ของผีเสื้อก็ประมาณกัน เพราะต้องมีการ เก็บตัว ซุ่มเงียบสร้างระบบธุรกิจรวมถึง การพิสูจน์ความสำเร็จให้ได้ให้เห็นจริงจังเสียก่อน
หลังจากนั้นค่อยสยายปีก กลายเป็นผีเสื้อ สวยงามพร้อมที่จะเริงร่าไปกับสายลมของการแข่งขันธุรกิจ


เมื่อถึงวันนั้นจะสร้างเครือข่ายสาขาทางธุรกิจก็ สามารถทำได้อย่างมั่นคง ยิ่งการวางรูปแบบธุรกิจได้ดีมากเท่าไร ผลที่จะได้รับจาก การประสบความสำเร็จ เชิงแฟรนไชส์นั้น ก็มีมูลค่ามากกว่าที่คาดไว้มากนัก และนี่คือสิ่งที่เสมือนตอกย้ำความคิดที่ว่า ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่นั้น ต้องได้มาจากการลงทุนที่ ยิ่งใหญ่เท่านั้น และเรื่องนี้ไม่มีคำว่าฟลุ๊ค มาเป็นเรื่องหลัก มากับดวงได้แต่ไม่แน่จริงไม่ลงมือจริงจัง ความสำเร็จ จากระบบแฟรนไชส์คงยังห่างไกล


เรื่องของการทำความเข้าใจในวิธีการสร้างแฟรนไชส์นั้นไม่ใช่เข้าใจกันง่ายๆ เรียนรู้รับฟังกันสองสามชั่วโมงแล้วไปขยายผลสร้างแฟรนไชส์อย่างนั้น ก็ดูจะเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ เรื่องของการเรียนรู้ธุรกิจหรือวิธีการสร้างแฟรนไชส์ต้องใช้เวลาไม่น้อยทีเดียว เริ่มจากการทำความเข้าใจ ในรูปแบบของการ สร้างธุรกิจ และแนวทางที่สามารถพัฒนา ให้เป็นระบบแฟรนไชส์ได้นั้นเป็นอย่างไร (Concept design and implementation ) แล้วก็ต้องทำความเข้าใจถึงการวิเคราะห์องค์ประกอบธุรกิจ ที่เข้าข่ายที่จะกลายสภาพเป็นระบบแฟรนไชส์ได้ (Business Analysis) รวมทั้งการเข้าใจเรื่องของการจดทะเบียน การรักษาสิทธิ์ด้านเครื่องหมายการค้า (Trade mark registration) ที่เป็นหัวใจของธุรกิจ นอกจากนั้นการเรียนรู้เรื่องของต้นทุน


การสร้างระบบธุรกิจแฟรนไชส์และการออกแบบเอกสารเช่น สัญญา รวมถึงเอกสารนำเสนอแฟรนไชส์ (Costing and design of Franchise Agreement Disclosure Document) ก็ต้องลงลึกบ้างพอสมควร รวมทั้งวิชาว่าด้วยการสร้าง เครื่องมือประกอบการขายแฟรนไชส์ (Sales material) ต้องเข้าใจเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวกับแฟรนไชส์ เช่น การจดทะเบียนเงื่อนไขต่างๆ ของบริษัทที่เป็นธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchisor registrations) โดยเฉพาะรูปแบบข้อบังคับต่างๆ ในต่างประเทศ


สร้างธุรกิจแฟรนไชส์ต้องรู้อะไรบ้าง


ถึงแม้ว่าในประเทศของเรายังอยู่ในระยะขั้นต้นของ การออกกฎหมายแฟรนไชส์ก็ตาม เรื่องที่สำคัญอีกอย่างคือเรื่องของ การบริหารความรู้ ผ่านกระบวนการอบรมที่ต้องมีคู่มือของธุรกิจ ดังนั้นการเข้าใจวิธีการสร้างคู่มือธุรกิจ (Franchise Operations Manual, Franchise Training Manual) ก็กลายเป็นเรื่องจำเป็นขึ้นมา จากนั้นการเข้าใจในเรื่องการบริหารงานขายงานตลาดแฟรนไชส์ (Franchise marketing) รวมถึงการทำกิจกรรมไม่ว่าการออกงานแสดงสินค้า (Trade Shows and Expos) ก็ล้วนแต่มีรายละเอียดที่จะมีข้อแตกต่างจากธุรกิจทั่วไป ต้องเข้าใจเทคนิคการคัดเลือกคนที่สนใจร่วมทุนกับเราด้วย เพราะการเลือกแฟรนไชส์ซี (Recruiting franchisees) ที่ถูกต้องก็เท่ากับวางรากฐานความสำเร็จให้ธุรกิจไปด้วย


ยังมีเรื่องของวิธีการบริหารธุรกิจ ที่เมื่อเปิดเป็นระบบแฟรนไชส์แล้วก็ยังต้องเรียนรู้เข้าใจด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการบริหารสาขาแฟรนไชส์ซี ด้วยข้อมูลระบบสารสนเทศ การสร้างเอกสารต่างๆ เพื่อการบริหารงานแฟรนไชส์ (Franchise documentation) แล้วยังต้องรู้ วิธีการที่จะช่วยเหลือแต่ละสาขาจากสภาวะการแข่งขัน ทำอย่างไรจึงจะสู้กับคู่แข่งได้ (Competitors analysis) การบริหารงานทีมงาน หรือเรื่องของวิธีการขยายธุรกิจพร้อมกับ เทคนิคการขายธุรกิจแฟรนไชส์ก็ยิ่งต้องเรียนรู้ ไม่อย่างนั้นสร้างแฟรนไชส์มีทั้งระบบ มีทั้งวิธีการที่ดี ซึ่งล้วนแต่ต้องใช้เม็ดเงินลงทุนสูง ทั้งนั้น ถ้าหากพอถึงเวลาขายแฟรนไชส์ กลับขายไม่เป็นอันนี้จะมาเรียกว่า กรรมเก่า ก็คงไม่ได้ ยังไม่พอเท่านั้น การที่เราเริ่มสร้างแฟรนไชส์ได้มากสาขาปัญหาที่ตามมาก็คือ เราเองจะรักษามาตรฐานของธุรกิจไว้ได้อย่างไร ยิ่งมากคนก็ยิ่งมีวิธีการทำงาน ที่แตกต่างซึ่งเทคนิคการตรวจสอบ การบริหารคุณภาพก็จำเป็นที่ต้องเรียนรู้เข้าใจไปด้วย


เรื่องทั้งหมดก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งเท่านั้น ที่เล่าให้ท่านทุกท่านเพื่อเห็นว่า จริงๆ แล้วหลักการสร้างระบบธุรกิจแฟรนไชส์นั้นไม่ใช่อยู่ๆ ก็ลุกขึ้นมาเปิด ขายแฟรนไชส์กัน เลย ทำกันแบบเรียกว่าถ้ามีคนซื้อก็จบกันไป การทำธุรกิจรูปแบบอย่างนั้นก็คงไม่จำเป็น ต้องมีการเก็บค่าธรรมเนียมกันให้ป่วยการ


ยิ่ง ถ้าได้มองภาพการสร้างระบบแฟรนไชส์ที่ทั้งยาก และก็เสี่ยงต่อความสำเร็จด้วยแล้วก็จะยิ่งเพิ่มความเข้าใจกระบวนการ ในการบริหารองค์กรที่เป็นแฟรนไชส์มากขึ้น เรื่องทั้งหมดที่เล่ามาเขาเรียนกันในสถาบันจริงจัง คงจะจบก็ตรงที่ว่าใครสนใจ ก็ติดต่อไปที่ มหาวิทยาลัยศรีปทุมได้เลยครับ เรื่องอย่างนี้สถาบันการศึกษาเขายินดีให้ข้อมูลเต็มที่ครับผม


ที่มา Thai Franchise Center

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น