ข้อสังเกตเกี่ยวกับกลโกงทางการค้าระหว่างประเทศ (THE INTERNATIONAL TRADE FINANCE FRAUD )

การทำการส่งออกด้วยตัวเอง (Exporting) การไปลงทุนในต่างประเทศเองทั้งหมด (Foreign Investment) การลงทุนแบบมีผู้ร่วมลงทุน (Joint Venture) การส่งออกผ่านนายหน้า (trader) ซึ่งนายหน้านั้นก็มีหลายประเภท แต่จะไม่เจาะลึกในฉบับนี้ อย่างไรก็ตาม การทำการค้าระหว่างประเทศส่วนใหญ่
ผู้ประกอบการขนาดกลางหรือย่อมจะนิยมใช้คือ การส่งออก ดังนั้นการเกิดกลโกงก็มักจะเกิดกับผู้ส่งออกรายใหม่เสียมากกว่า เพราะขาดทั้งประสบการณ์และความรู้สึกเกรงใจของผู้ส่งออกรายใหม่ทำให้ต้องตก เป็นเครื่องมือทำการค้าของกลุ่มที่รู้ช่องทางเอารัดเอาเปรียบ
ปัจจัยแรกที่ต้องสังเกตคือ การเปิด Letter of Credit ด้วยจำนวนเงินที่มากทีเดียว ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ เช่น การเปิด L/C เป็นจำนวนเงิน 100,000-300,000 เหรียญสหรัฐฯ ซึ่งคงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า คนกลุ่มนี้มีเครดิต โดยที่เอกสารส่วนใหญ่เป็นของปลอมหรือทำขึ้นเองหรือแม้แต่สมรู้ร่วมคิดกับคน ในธนาคาร แล้วแต่วิธีที่สามารถกระทำได้ แล้วพวกเขาจะสั่งสินค้าด้วยจำนวนที่ไม่มากพอที่ทางฝ่ายผู้เสียหายจะนำเรื่อง ไปฟ้องร้องเพราะไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียกับการดำเนินการ เมื่อทางฝ่ายผู้ส่งออกรับทราบว่าสินค้าอาจไม่ได้คืน หรือไม่สามารถเบิกเงินได้ ด้วยเหตุผลต่างๆ กล่าวง่ายๆ คือ โดนกลโกงเข้าแล้ว ก็ไม่ได้ดำเนินการแต่ประการใด ด้วยเหตุผล 2 ประการ คือ จำนวนเงินที่ไม่มากจึงไม่เสียเวลา เอาเวลาไปทำการค้ากับรายอื่นดีกว่า ประการที่สองคือ จำนวนสินค้ามีมูลค่าไม่มากทำให้ไม่คุ้มกับการสืบหาข้อมูล เพื่อดำเนินการในชั้นศาลต่อไป ดังนั้นจึงเป็นช่องทางที่ทำให้คนกลุ่มนี้รู้ถึงจุดบอดของผู้ประกอบการ แม้แต่ธนาคารเองก็ประสบกับเหตุการณ์นี้เช่นกัน แล้วก็ไม่เสียเวลากับการติดตามเพราะไม่คุ้มค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียในต่างประเทศด้วยแล้ว ธนาคารก็ตัดเงินส่วนนี้เป็นหนี้สูญ

ปัจจัยต่อไปคือ คนกลุ่มนี้มีความรู้ด้านการขนส่งเป็นอย่างดี รู้ว่าสินค้าจะถึงท่าเมื่อไหร่ แล้วออกของให้เร็วที่สุด โดยใช้การชำระเงินเป็นเช็ค หลังจากที่ผู้ประกอบการหลงเชื่อว่ามีเครดิต จากการที่สามารถเปิด Letter of Credit ด้วยจำนวนเงินที่มาก การออกเช็คจึงเป็นเรื่องที่รับได้สำหรับผู้ประกอบการรายใหม่ วิธีการเริ่มด้วย การขอรายการสินค้า ขอราคาสินค้า และรายละเอียดอื่นๆ ที่ลูกค้าพึงกระทำ หลังจากนั้นก็ทำการสั่งสินค้า โดยมีการเปิด L/C อย่างถูกต้อง ผ่านไปสักเดือนถึงสองเดือน เมื่อฝ่ายผู้นำเข้าได้ทำการสืบความเคลื่อนไหวเป็นอย่างดี ๆ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าที่มีอยู่ในสต็อก หรือสินค้าที่กำลังผลิต เมื่อทราบแน่ชัดว่า ผู้ส่งออกมีสินค้าในสต็อกที่สามารถดำเนินการได้ ผู้นำเข้าจะเดินทางมายังประเทศผู้ส่งออกแบบจู่โจม ด้วยความภูมิฐาน ประดับประดาอัญมณี ตลอดจนพักโรงแรมหรูระดับ 5 ดาว ทำทีว่ารีบมาก ด้วยเหตุผลที่ว่า ลูกค้าพอใจสินค้าที่ผู้ส่งออกมีและต้องการสินค้าด่วน ไม่ว่าจะประเภทใดที่มีอยู่ในสต็อกสามารถขายได้หมด เมื่อผู้นำเข้ามีเครดิตครั้งแรกในการสั่งสินค้า ทำให้ง่ายต่อการเจรจา โดยผู้นำเข้าอ้างว่าไม่สามารถเปิด L/C ได้ทัน เพราะต้องใช้เวลา จึงขอใช้เช็คในการสั่งจ่ายแทน และที่สำคัญ ด้วยความเร่งรีบ ผู้นำเข้าขอให้ผู้ส่งออกให้สิทธิในการรับสินค้าที่ท่าเรือปลายทางได้เลย เพื่อเป็นการประหยัดเวลา ยิ่งไปกว่านั้น เขาอาจวางแผนนับวันหยุดของประเทศนำเข้าว่าอยู่ช่วงไหน แล้วก็สามารถอ้างว่าต้องรีบเอาสินค้าออกมิฉะนั้นจะติดวันหยุดหลายวัน ด้วยเหตุผลต่างๆ นานา ที่ล้วนแล้วแต่มีเหตุมีผล มีที่มาที่ไปทำให้ยากต่อการปฏิเสธเป็นอย่างยิ่ง
ปัจจัยที่สามคือ บางรายสามารถเกลี่ยกล่อมให้นักธุรกิจยอมให้ใช้สมุดบัญชีของบริษัทเพื่อจะใช้ เลขที่ของธนาคารในการดำเนินการเปิด Letter of Credit โดยมีค่าตอบแทนที่น่าพอใจมากในการให้ใช้เลขที่บัญชี การดำเนินการโอนค่อนข้างรวดเร็วมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศสเปน

ปัจจัยที่ห้าคือ การผสมผสานการทำงานระหว่าง L/C (Letter of Credit) กับ T/T (Telegraphic Transfer) เข้าด้วยกัน รูปแบบนี้เป็นที่นิยมมากในการจ่ายเงินที่ต่ำกว่ามูลค่าของสินค้า (Undervalue Arrangement) ที่ตกลงกัน ต้องเรียนให้ทราบก่อนว่า วิธีการจ่ายเงินแบบนี้เป็นวิธีการที่ผิดกฎหมาย ใช้ในการหลีกเลี่ยงหรือใช้ลดอากรขาเข้าและภาษี ทำให้ผู้ประกอบการสามารถใช้ประโยชน์ของส่วนต่างในการเสนอราคาได้เหนือกว่า คู่แข่ง ส่วนใหญ่แล้วผู้นำเข้าจะใช้วิธีนี้ก็ต่อเมื่ออากรนำเข้าค่อนข้างสูงรวมถึง ภาษีด้วย เพื่อทำให้ราคาสินค้าสามารถแข่งขันได้ คงไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการนี้ ถ้าอากรนำเข้าไม่เกิน 10-15% การใช้วิธี Undervalue Arrangement นั้น เป็นวิธีที่เสี่ยงมาก ถ้าถูกจับได้ ท่านซึ่งเป็นผู้ส่งออกอาจได้ขายสินค้าแต่ ความวุ่นวายก็อาจเกิดขึ้นได้ ถ้าผู้นำเข้าขาดความชำนาญเพื่อความเข้าใจมากยิ่งขึ้น มาพิจารณาจากตัวอย่าง ในการใช้วิธีการนี้ โดยผู้นำเข้าจะให้ผู้ส่งออกจัดเอกสารออกเป็น 2 ส่วน ตัวอย่างเช่น บริษัท XYZ ทำสัญญาซื้อสินค้า A 1,000 ชิ้นที่ราคา FOB โดยได้ราคาชิ้นละ US$9 รวมเป็นเงินทั้งสิ้น US$9,000 ผู้นำเข้าดังกล่าวต้องการเสียอากรนำเข้า 25% ของราคาจริงที่ตกลงกัน หรือที่ราคา US$2.25 ต่อหน่วย รวมเป็นเงิน US$2,250 เพราะฉะนั้นเอกสารอีกชุดที่ว่าจะใส่ข้อมูลอันหลัง คือ สินค้า A 1,000 ชิ้นที่ราคา FOB โดยราคาต่อชิ้นคือ US$2.25 รวมเป็นเงินทั้งสิ้น US$2,250 ส่วนอีกฉบับจะเสนอราคาจริง หลังจากนั้นผู้นำเข้าเปิด L/C เป็นจำนวนเงิน US$2,250 และจะชำระเงินโดยผ่านการโอน T/T ในส่วนที่เหลือเป็นจำนวนเงิน US$6,750 เพราะฉะนั้นแล้วผู้ส่งออกต้องส่งออกในมูลค่า US$9,000 ตามมาตรการควบคุมเงินตราของรัฐบาล ในขณะที่ฝ่ายผู้นำเข้าจะชำระอากรนำเข้าและภาษีในมูลค่า US$2,250 บวกกับค่าใช้จ่ายอื่นๆในการดำเนินการดังกล่าว ในกรณี ถ้าผู้นำเข้าถูกจับที่ท่าเรือปลายทาง สินค้านั้นก็ถูกยึดโดยศุลกากรของประเทศนั้นๆ ผู้ส่งออกก็ยากที่จะได้รับชำระเงิน ในกรณีถ้าผู้นำเข้าไม่ถูกจับเสียก่อน ขั้นตอนต่อไปคือ ผู้นำเข้าต้องซื้อดอลล่าห์จากตลาดมืดและส่งเงินโดยใช้วิธีการ T/T โดยผ่านประเทศที่สาม อย่างที่ทราบกันดีว่า บ่อยครั้งที่ T/T ดังกล่าวจะไม่ถึงมือผู้ส่งออกตามที่ตกลงกัน และที่สำคัญคือ สินค้านั้นๆ มักจะถึงมือผู้นำเข้าก่อนที่ผู้ส่งออกจะได้รับชำระโดยวิธี T/T
ปัจจัยตัวที่หกคือ ในทางกลับกันจากกรณีศึกษาในปัจจัยที่ห้า ท่านผู้ส่งออกอาจจะพบอีกลักษณะคือ ผู้นำเข้าต้องการเสียอากรนำเข้า 80% ของราคาที่ตกลงกัน และส่วนที่เหลือผู้นำเข้าจะส่งให้เมื่อสั่งสินค้าครั้งต่อไป ผู้ส่งออกรายใหม่ที่ขาดประสบการณ์คงดูว่า ข้อเสนอก็พอรับได้ แต่จริงแล้ว ท่านอาจติดกับก็ได้หรือที่เรียกว่า ตกกระไดพลอยโจร ก็ไม่ผิดนัก เพราะการที่ผู้นำเข้ายังไม่ชำระอีก 20% ที่เหลือ ซึ่งอย่าลืมว่า เมื่อเวลาล่วงเลยไป มูลค่าของเงินก็เพิ่มขึ้น แต่ท่านอย่าหวังว่าท่านจะได้คืนในส่วนดังกล่าวโดยง่าย หรือแม้แต่ในการสั่งซื้อครั้งต่อไป ในส่วนดังกล่าวนี้ ท่านอาจจะได้เมื่อมีการสั่งซื้อถึงครั้งที่สามหรือสี่ (ถ้าผู้นำเข้าไม่โกงท่านเสียก่อน) ถึงตอนนี้ท่านผู้ส่งออกคงถามว่า แล้วผู้นำเข้าทำไปเพื่ออะไร ประการแรก แน่นอนเพื่อยืดเวลาชำระเงิน ประการที่สอง จ่ายอากรนำเข้าถูกกว่าเดิมนิดหน่อยแต่ก็ยังดีกว่าไม่ได้ส่วนต่างเลย ประการที่สาม คือ ผู้นำเข้าสามารถใช้ส่วน 20% ที่เหลือนี้เป็นเงินประกันในการบังคับกรายๆ ว่าให้ผู้ส่งออกส่งสินค้าให้ตรงตามคำสั่งซื้อและตามเงื่อนไขที่ตนต้องการ และประการสุดท้าย ผู้นำเข้าสามารถใช้ส่วน 20% ที่เหลือนี้เป็นเงินประกันในการหักค่าเสียหายเมื่อสินค้าเกิดชำรุด (Defective Product) วิธีการนี้ช่างแยบยล โดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้ที่สร้างเหตุการณ์เช่นนี้ มักจะเป็นผู้นำเข้าที่มาจากประเทศที่เรียกว่า ประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งพบบ่อยๆ ดังนี้ เมื่อผู้นำเข้ารับสินค้าและแจ้งกลับมายังผู้ส่งออกว่า มีสินค้าที่ชำรุดมีมูลค่า US$3,000 โดยมากกรณีอย่างนี้จะเกิดขึ้นเมื่อ ผู้นำเข้ายังมีเงินค้างชำระผู้ส่งออกอยู่เป็นจำนวนมากพอควร เช่น US$8,000 ถ้าเป็นไปตามที่ผู้นำเข้าเสนอมา ผู้นำเข้าจะชำระเงินเพียง US$5,000 เท่านั้น โดยขั้นตอนการพิสูจน์นั้น ผู้ส่งออกจำเป็นต้องขอรูปสินค้า เพื่อพิสูจน์ว่าสินค้านั้นๆ ชำรุดจริง ตามจำนวนที่ได้รับแจ้ง อีกวิธีในการพิสูจน์คือ จ้างนักสืบในการหาข้อเท็จจริง (ถ้าจำนวนเงินค่อนข้างมากก็ถือว่าจำเป็นต้องทำ) โดยผู้แทนดังกล่าวไปเยี่ยมผู้นำเข้าที่กล่าวอ้างว่า ในบางกรณีเมื่อผู้แทนไปพิสูจน์ความเสียหายปรากฏว่า สินค้าชำรุดเพียง US$400 เท่านั้น แต่ผู้นำเข้ากลับขอ Claim ค่าเสียหายถึง US$3,000 ผู้ส่งออกรายใหม่ควรระวังเมื่อเกิดกรณีดังกล่าว
เพราะท่านได้ประสบกับการโกงโดยใช้ประสบการณ์ในการทำการค้าที่เหนือกว่าท่าน
การทำการค้าระหว่างประเทศนั้น มีเรื่องราวมากมายที่ต้องติดตามข่าวเสมอ ไม่ว่าจะเป็นด้านการตลาดที่ปัจจุบันนั้น สินค้าในกลุ่มใช้กลยุทธ์ใดนำตลาด หรือการศุลกากรในประเทศที่ต้องติดต่อด้วย รวมถึงการศุลกากรในประเทศของเราเช่นกันในกรณีที่ผู้ประกอบการเป็นผู้นำเข้า จะต้องติดต่อมากเป็นพิเศษ นอกจากนี้แล้วด้านการธนาคารที่ผู้ส่งออกต้องให้ความสนใจและรับทราบข่าวหรือ กฎระเบียบต่างๆ ที่ออกมาใหม่ ถ้าไม่แน่ใจควรถามผู้รู้ อย่าถามตัวแทนที่ใช้วิธีแบบเก่าๆ (ใต้โต๊ะ) ท่านจะไม่ได้คำตอบ นอกจากผ่านขั้นตอนไปได้ แต่จะทุกครั้งหรือไม่นั้น ตัวท่านผู้ส่งออกคงต้องหาคำตอบเองกระมัง โดยภาพรวมแล้ว ในโลกการค้าไม่ว่าในประเทศหรือนอกประเทศ ย่อมมีกลุ่มคนที่มีจรรยาบรรณและกลุ่มคนที่แสวงหาผลประโยชน์ จนบางครั้งไม่สามารถแยกแยะได้ จึงต้องอาศัยทั้งประสบการณ์ของตนเอง รวมถึงการ


ปรึกษาผู้มีประสบการณ์อีกทางหนึ่ง บทความโดย ดร. เพชรมณี ดาวเวียง
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น