FRANCHISE Tip : 8 ข้อควรคิดก่อนซื้อแฟรนไชส์


1.พิจารณาเงื่อนไขหลักๆ ของข้อตกลง ควรขอรายละเอียดเกี่ยวกับข้อตกลงของแฟรนไชส์ และอาจขอให้มีการชี้แจงเงื่อนไขหลักๆ ที่สำคัญ เช่น ค่าใช้จ่ายต่างๆ เงินรายงวด ระยะเวลาของสัญญา สิทธิในขอบเขตการประกอบการอื่นๆ
ทั้งนี้ถ้าหากเป็นไปได้ควรเปรียบเทียบกันระหว่างแฟรนไชส์ที่คล้ายกันหลายๆ บริษัทด้วย

2.กฎ หมายแฟรนไชส์ หลักเกณฑ์แฟรนไชส์ที่เป็นกฎหมายนั้นสำหรับประเทศไทยยังไม่ชัดเจนและไม่มี สภาพบังคับอย่างกฎหมายเหมือนในต่างประเทศ ดังนั้น ในการเสนอขายแฟรนไชส์สิ่งที่ต้องบอกต้องถามกันก็คือ ธุรกิจนั้นเป็นอย่างไร รายได้เท่าไร กำไรมากน้อยแค่ไหน ปัญหาของการทำธุรกิจนั้นมีอะไรบ้าง ยากไหม หนทางแก้ไขเป็นอย่างไง งบประมาณลงทุนเท่าไหร่ กี่ปีจึงจะคุ้มทุน แฟรนไชซอร์ทำธุรกิจนี้มากี่ปี แล้วมีแฟรนไชซีแล้วกี่ราย ที่ทำแล้วเลิกมีบ้างไหม เพราะอะไร

สิ่งเหล่านี้จะเป็น สิ่งที่ป้องกันมิให้เกิดปัญหาในการตกลงกัน ซึ่งในบางประเทศได้มีการวางกฏกติกามารยาทให้แฟรนไชซอร์เปิดเผยข้อมูล บางอย่างก่อนที่จะทำสัญญาแฟรนไชส์หรือก่อนแฟรนไชซีจะลงทุน ซึ่งรายละเอียดจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ โดยมีองค์กรที่เรียกว่า International Institute For The Unification of Private Law หรือเรียกสั้นๆ ว่า UNIDROIT ได้รวบรวมศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลในธุรกิจแฟรนไชส์ และยกร่างกฎหมายแม่แบบเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้

ดังนั้น การลงทุนระบบแฟรนไชส์ทั้งตัวแฟรนไชซอร์และแฟรนไชซี่จะต้องมีการศึกษาสัญญา อย่างละเอียด และควรหาคำปรึกษาด้านกฎหมายเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ดังต่อไปนี้ การสิ้นสุดสัญญาอันเนื่องมากจากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ข้อผูกมัดของแฟรนไชซอร์ ข้อจำกัดต่างๆ, สิทธิในขอบเขตการประกอบการ, การระงับข้อพิพาท และสิทธิต่างๆ ของแฟรนไชซี

3.สิทธิ ที่ให้ตามสัญญา บรรดาเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร หรือโนว์ฮาวทั้งหลายนี้ถือเป็นหัวใจของธุรกิจแฟรนไชส์ จะต้องติดมากับแฟรนไชส์เสมอ แต่บางครั้งก็ติดจะติดมามากบ้างน้อยบ้าง แต่บางแฟรนไชส์ก็มีมาทั้งหมดอันนี้แล้วแต่ๆ ละธุรกิจ โดยที่แฟรนไชซอร์ต้องบอกให้ชัดเจนว่าให้สิทธิอะไรแก่แฟรนไชซีบ้าง ขอบเขตที่ให้ใช้ได้มากน้อยแค่ไหน มีข้อจำกัดอะไรบ้าง ถ้าสิ่งเหล่านี้แฟรนไชซอร์ได้มาจากต่างประเทศอีกต่อหนึ่ง ก็ต้องบอกให้ชัดว่าที่ได้มามีข้อจำกัดหรือเงื่อนไขอย่างไรบ้าง

4.ข้อ ตกลงเกี่ยวกับสินค้าและบริการ สินค้าหรือบริการที่ต้องซื้อมาเข้าร้านเมื่อเป็นแฟรนไชซีแล้วนั้น มีข้อผูกมัดอะไรหรือไม่ เช่น ต้องซื้อจากแฟรนไชซอร์เท่านั้น จะไปซื้อเองจากคนอื่นไม่ได้ หรือถ้ายอมให้ซื้อจากคนอื่นก็ต้องเป็นคนที่แฟรนไชซอร์กำหนด อย่างบางแห่งบังคับว่าแฟรนไชซีจะต้องเช่าที่จากแฟรนไชซอร์ หรือต้องเป็นที่ๆ แฟรนไชซอร์หามาเท่านั้น ซึ่งอาจจะเป็นที่ของแฟรนไชซอร์เอง หรือที่แฟรนไชซอร์ไปเช่ามาเพื่อจะปล่อยเช่าเอากำไรอีกต่อหนึ่งก็ได้ หรือบังคับว่าต้องจ้างคนของแฟรนไชซอร์ตกแต่งร้าน เป็นต้น

การ เปิดเผยข้อบังคับเหล่านี้จะต้องให้แฟรนไชซีรับทราบก่อนการดำเนินการทาง ธุรกิจ เช่น การตั้งราคาสินค้า นโยบายของแฟรนไชซีในเรื่องราคาของสินค้า หรือบริการที่ขายในร้านแฟรนไชส์เป็นอย่างไร เช่น แฟรนไชซอร์จะกำหนดราคาขายให้หรือไม่ หรือแฟรนไชซีมีสิทธิกำหนดราคาได้เอง ถ้ากำหนดจะกำหนดอย่างไร กำหนดราคาตายตัวเลย หรือกำหนดราคาขั้นสูงหรือขั้นต่ำ นอกจากนี้แฟรนไชซอร์ที่ได้รับเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนจากผู้ผลิตสินค้า หรือบริการที่นำมาขายให้กับแฟรนไชซี ที่เรียกว่า “ค่าคอมมิชชั้นหรือคิกแบ็ค (Kick Back)” จะต้องเปิดเผยด้วย

5.การ โอนสิทธิแฟรนไชส์ หากแฟรนไชซีจะโอนกิจการของตนให้ผู้อื่นทำได้ไหม การโอนกิจการให้คนอื่นมีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง แฟรนไชซีหาผู้รับโอนเองได้หรือไม่ หรือต้องได้รับความยินยอมจากแฟรนไชซอร์ก่อน ต้องชดใช้อะไรให้แฟรนไชซอร์หรือไม่ สิ่งเหล่านี้ต้องเปิดเผยให้ผู้สนใจทราบล่วงหน้า

6.เงื่อนไข การต่ออายุแฟรนไชส์หรือหลักเกณฑ์ต้องบอกก่อนล่วงหน้านานเท่าไร หรือเมื่อได้รับแจ้งว่าแฟรนไชซีต้องการต่อสัญญา แฟรนไชซอร์ต้องตอบกลับภายในเวลาเท่าใด ข้อมูลเหล่านี้จะได้ช่วยประกอบการตัดสินใจลงทุนของแฟรนไชซีว่าจะคุ้มค่าหรือ ไม่

7.พื้นที่ที่ได้สิทธิทำแฟรนไชส์ ส่วนใหญ่จะกำหนดไว้ชัดเจนในสัญญา เช่น ระบุว่าในรัศมี 2 กิโลเมตรจากร้านของแฟรนไชซี แฟรนไชซอร์จะไม่อนุญาตให้คนอื่นมาเปิดร้านแฟรนไชส์แข่งขัน การกำหนดขนาดของพื้นที่คงต้องอาศัยสถิติและตัวเลขพอสมควรว่ากลุ่มลูกค้าเป้า หมายของร้านแฟรนไชส์นั้นจะมีมากน้อยแค่ไหน พื้นที่ที่กำหนดคงต้องต้องมีระยะห่างมากพอที่ร้านนั้นจะมีกำไรอยู่ได้

8.สิทธิ บอกเลิกสัญญา แฟรนไชซอร์ที่จะบอกเลิกสัญญาได้มีในกรณีใดบ้าง เช่น ถ้าแฟรนไชซีไม่ได้ทำผิดอะไรเลยจะสามารถบอกเลิกได้หรือไม่ และแฟรนไชซีจะบอกเลิกได้ไหม ในกรณีใดบ้าง และถ้าบอกเลิกจะเกิดผลอะไรบ้าง เช่น ร้านที่เปิดมาแล้ว สินค้าที่เหลืออยู่ พนักงานในร้าน

แฟรน ไชซีที่เลิกสัญญาไปแล้วยังมีหน้าที่ต้องทำอะไรอยู่อีกหรือไม่ ปกติในธุรกิจแฟรนไชส์มักจะกำหนดให้แฟรนไชซียังต้องรักษาความลับในธุรกิจ แฟรนไชส์นั้นต่อไปอีกระยะหนึ่ง การห้ามแฟรนไชซีทำธุรกิจประเภทเดียวกันแข่งกับแฟรนไชส์นั้น อาจกำหนดช่วงระยะเวลาที่ห้าม รวมทั้งพื้นที่ที่ห้ามทำธุรกิจแข่งขัน เงื่อนไขในเรื่องเหล่านี้ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษเพราะอาจผิดกฎหมายป้องกัน การผูกขาดได้ ในประเทศไทยก็คือ พ.ร.บ. การแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2542

ประ เทศไทยแฟรนไชซอร์ไม่มีกฎหมายบังคับ หากถึงขั้นหลอกลวงกันก็คงถือเป็นของกลฉ้อฉล ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งหากถึงขนาดนั้นก็บอกล้างสัญญาแฟรนไชส์ได้ อย่างไรก็ดีคาดว่าต่อไปกฎหมายในระบบแฟรนไชส์นี้คงจะมีขึ้นในประเทศไทยแน่นอน มีคนเคยกล่าวว่าสัญญาคือกฎหมายที่ใช้บังคับในระหว่างคู่สัญญาด้วยกัน แต่การทำสิ่งใดโดยเจตนาบริสุทธิ์ ไม่คิดแต่จะเอาเปรียบคนอื่นเขามองเห็นคู่สัญญาอีกฝ่ายเป็นเพื่อน หรือพันธมิตรทางธุรกิจเป็นสิ่งที่ทำได้โดยไม่ต้องอาศัยสัญญาที่เป็นตัว หนังสือ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น